Categories
News

วิธีเลือก Influencer ที่ใช่ ให้ตอบโจทย์แบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย

วิธีเลือก Influencer ที่ใช่ ให้ตอบโจทย์แบรนด์และกลุ่มเป้าหมาย “อินฟลูเอนเซอร์” กลายเป็นเครื่องมือยอดนิยมสำหรับการทำการตลาดออนไลน์ เพราะกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คนสมัยนี้หันมาสนใจเสียงรีวิวจากคนธรรมดา ๆ มากขึ้น ทำให้อิทธิพลของอินฟลูเอนเซอร์พุ่งสูง จนไม่ว่าจะทำแคมเปญอะไรก็จะต้องมีการใช้อินฟลูเอนเซอร์ประกอบแผนการตลาดที่วางไว้ด้วยเสมอ

ข้อดีของการที่แบรนด์ใช้อินฟลูเอนเซอร์ ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเรื่องของ “ความเชื่อใจ” เพราะพฤติกรรมของคนในสมัยนี้มักเชื่อเรื่องราวหรือเสียงรีวิวจากคน มากกว่าการเห็นโฆษณาจากแบรนด์โดยตรง ว่า คนที่เกิดในช่วง ค.ศ.1980 – 1995 หรือ Gen Y น้อยกว่า 3% ที่เชื่อในโฆษณา Billboard ทีวี นิตยสาร และโฆษณาออนไลน์ ในทางกลับกัน ผู้บริโภคจำนวนกว่า 92% กล่าวว่าพวกเขาเชื่อถือคำแนะนำของเพื่อน หรือคนรู้จักมากกว่า นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมอินฟลูเอนเซอร์ถึงมีอิทธิพลมาก

แต่การเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าเราวางแผนและหยิบอินฟลูเอนเซอร์มาใช้ตรงกับเป้าหมายที่จะทำหรือไม่ และอินฟลูเอนเซอร์ตอบโจทย์กับลักษณะแคมเปญของเราหรือเปล่า ได้แนะนำ 7 ขั้นตอนที่จะช่วยให้เราสามารถเลือกอินฟลูเอนเซอร์ได้ตรงกับแคมเปญมากขึ้น ดังนี้ครับ

ขั้นแรก กำหนดก่อนเลยว่าเราอยากได้อะไรหลังจากจบแคมเปญนี้ โดยตั้ง KPI ที่ต้องการ เราอยากจะวัดจากอะไร ยอดขาย? จำนวนคนดูไลฟ์? ได้คนรู้จักเพิ่มขึ้น คิดไว้ก่อนที่จะเลือกอินฟลูเอนเซอร์เลยครับ

ขั้นที่สอง กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร เขาต้องการข้อมูลแบบไหน แล้วอินฟลูเอนเซอร์แบบไหนที่จะถ่ายทอดเรื่องราวให้เขาได้ดีที่สุด

ขั้นที่สาม อินฟลูเอนเซอร์ระดับไหนที่เหมาะ ถ้าใช้ Macro-influencer แล้วจะเขาจะสามารถดูแลแบรนด์เราร่วมกับแบรนด์อื่น ๆ ที่เขาถืออยู่ได้ไหม หรือถ้าใช้ micro-influencer แล้วยอดคนติดตามจะเพียงพอหรือเปล่า

ขั้นที่สี่ ลองตามอินฟลูเอนเซอร์ดูก่อน ลักษณะการถ่ายทอดเรื่องราวของเขาเป็นอย่างไร คนติดตามของเขาใช่กลุ่มลูกค้าที่เรามองหาหรือไม่

ขั้นที่ห้า อินฟลูเอนเซอร์จะให้อะไรกับเราบ้าง และเราเองจะให้อะไรกับอินฟลูเอนเซอร์บ้าง ขั้นนี้คือการวางแผนว่าเราต้องการอะไรจากอินฟลูเอนเซอร์ เช่น อยากได้คอนเทนต์รีวิวสินค้าขึ้นบนทวิตเตอร์ แล้วอินฟลูเอนเซอร์จะได้อะไรจากเรา เช่น สินค้า เงินตอบแทน หรือทั้งสองอย่าง

ขั้นที่หก คอนเทนต์ที่ใช่ ต้องมาจากความร่วมมือระหว่างแบรนด์และอินฟลูเอนเซอร์ เพราะถึงแม้ว่าอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนจะมีสไตล์การถ่ายทอดเรื่องราวเป็นของตัวเอง แต่แบรนด์ก็ควรที่จะลงมือวางแผนการถ่ายทอดเรื่องราวไปด้วยกันกับตัวอินฟลูเอนเซอร์ด้วย เพื่อที่จะได้มั่นใจว่าคอนเทนต์ที่ออกไป มีทั้งความเป็นแบรนด์และเอกลักษณ์ของอินฟลูเอนเซอร์ร่วมกันจริง ๆ

ขั้นที่เจ็ด โพสต์คอนเทนต์แล้วอย่าหาย แต่เข้าไปมีส่วนร่วม ติดตามผล และทำรายงานผลไว้สำหรับครั้งต่อไป เมื่อเราหย่อนเรื่องราวไว้ให้กลุ่มเป้าหมายสนใจแล้ว ก็ควรที่จะติดตามและตอบสนองกลับกับคำถามหรือความสนใจของพวกเขาเหล่านั้นด้วย ถ้าโพสต์ครั้งเดียวแล้วหายไป ไม่สนใจคอมเมนต์ สุดท้ายก็จะกลายเป็นแค่หนึ่งเรื่องเล่าที่หายไปเปล่า ๆ ดังนั้นทั้งแบรนด์และตัวอินฟลูเอนเซอร์เอง ต้องใส่ใจติดตามผลด้วยครับ

สรุปแล้วการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะกับแบรนด์และแคมเปญที่จะทำ ขึ้นอยู่กับการกำหนดให้ชัดเจนว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายของเรา และเราอยากได้ KPI อะไรจากการใช้อินฟลูเอนเซอร์ครั้งนี้ รวมถึงศึกษาแนวคอนเทนต์ของอินฟลูเอนเซอร์และกลุ่มแฟนคลับของเขาว่าเข้ากลุ่มลูกค้าที่เราอยากได้หรือไม่ เพื่อที่จะได้ไปค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ที่จะตอบโจทย์คุณได้มากที่สุดนั่นเองครับ